newcact.com

พุธ, กันยายน ๑๘, ๒๕๖๗

เด็กดาว์นซินโดม

เราเปิดสอนคอร์สนี้มานานนับ 10ปี  - อ.ปั้น

 

 

คอร์สเพิ่มพัฒนาการ (เด็กดาว์นซินโดม)   สำหรับท่านที่ลูก มีอาการดาว์นซินโดม

เพื่อการเรียน และ การใช้ชิวิตในสังคมที่ดีขึ้น

( เราใช้วิธีการสอน ตามแนวเฉพาะของสถาบัน ถ้าเรียนไม่ได้ผล· เราพร้อมคืนเงิน ภายใน 1 เดือน )

 

 

เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด มักพูดช้าและพูดไม่ชัด และมีการทำงานของกล้ามเนื้อในปากผิดปกติ เนื่องจากมีกล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม

เดิมกลุ่มอาการดาวน์มักมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางถึงรุนแรง แต่ถ้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกวิธี    ทำให้กลุ่มอาการดาวน์ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง

พัฒนาการด้านภาษาจะช้ามากกว่าระดับสติปัญญาที่ช้า ทักษะด้านสังคมจะพัฒนาได้ดีกว่า ทักษะการเรียนรู้โดยการมองจะดีกว่าทักษะการเรียนรู้โดยการฟัง

 

เรามุ่งพัฒนาเด็กดาว์นซินโดม   ในทุกด้านของพัฒนาการ     คือ

- อารมณ์พฤติกรรม

- การเข้าสังคม

- การพูด   ภาษาและการสื่อสาร

-  การเรียนรู้ / สติปัญญา

- การอ่าน/เขียน

- การเรียนหนังสือ

- การคิด/วิเคราะห์/การเรียนรู้    สิ่งต่างๆ

- อื่นๆ

 

 

คอร์สนี้จึงมุ่งสอนเพื่อสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆให้กับเด็กดาว์นซินโดม

ซึ่งเราพัฒนาหลักสูตรตลอดมา  จนถึงตอนนี้เราได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   (ไม่มีการใช้ยาใดๆทั้งสิ้น)   โดยเรารับสอนเด็กตั้งแต่ 2 ปี  จนถึงอายุ 25 ปี (ในกรณีอายุมากกว่า 25 ปี เราจะพิจารณาเป็นรายๆไป)

ในกรณีเด็กที่มีอาการค่อนข้างมาก   เรามีบริการ รับดูแล-ฟื้นฟู  เด็กออทิสติก ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ที่บ้าน  เหมาะสำหรับเด็กมีอาการระดับปานกลาง ถึง ระดับมาก

 

 

กระบวนการสอนดำเนินการโดยใช้

- กิจกรรมบำบัด  เชิงวิชาการ

- พฤติกรรมบำบัด

-การกระตุ้นพัฒนาการสมองและความคิด

-ศิลปะบำบัด

-กิจกรรมกระตุ้นกล้ามเนื้อ

-อื่นๆ

 

 

คอร์สมีทั้งหมด 3 คอร์ส  คือ

1.สำหรับเด็กเล็ก-เด็กประถม

2.สำหรับเด็กมัธยมต้น-ปลาย

3.สำหรับ นักศึกษาและผู้ใหญ่

 

 

การฝึกมี 2 แบบ ให้เลือก  คือ  -แบบฝึกครั้งละ 2 ชม.   -แบบฝึกครั้งละ 5 ชม.(ทั้งวัน)

ท่านสามารถเลือกได้ว่าจะฝึก

ด้านการเข้าสังคม  ( ได้แก่  อารมณ์พฤติกรรม  การเข้าสังคม  ภาษาและการสื่อสาร ) ·

หรือ  ด้านการเรียนรู้  ( ได้แก่  การอ่าน/เขียน  การเรียนหนังสือ  การคิด/วิเคราะห์/การเรียนรู้ )

 

·

กรณีเรียนครั้งละ 2 ชม.  ค่าเรียน 3500 บาท/เดือน  

 

-    กรณีเรียนเป็นคอร์ส  เริ่มเรียนขั้นต้น  2 เดือน    เรียนทุกวันเสาร์ หรือ อาทิตย์  ครั้งละ 2 ชม.   (การเรียน เรียน 3 -6  เดือน แล้วแต่อาการของเด็ก  แต่จะเริ่มจากเรียน 2 เดือนก่อน   แล้วจะประเมินว่าต้องใช้เวลาเรียนเท่าไหร่จึงสัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์)      เรียนเป็นกลุ่ม รับไม่เกิน 5 คน/คอร์ส     ปกติอาการไม่รุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง  เรียนประมาณ3-4 เดือน    แต่ถ้าอาการค่อนข้างมากอาจเรียน 5-6 เดือน

-    กรณีเรียนเดี่ยว  ค่าเรียนคิด  6000 บาท/เดือน

 

 

 

โทรสอบถาม เรื่องเรียน - คอร์สต่างๆ · 089-1690911 ·หรือ · 083-094-9242 

หรือ ส่งมาที่ ·LINE ID : @puncenter (อย่าลืมใส่ @ ด้วยค่ะ)

Face Book :  อ.ปั้น พุทธะ

 

เงื่อนไขการรับประกัน -  การมาเรียนต่อเนื่อง ทำตามแนวทางการสอน ·แล้วไม่เห็นผลชัดเจน · เรายินดีคืนเงิน ภายใน 1 เดือน

 

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

 

ลักษณะของกลุ่มอาการดาวน์

กลุ่มอาการดาวน์ก็คล้ายกับเด็กอื่นๆ บิดามารดามักจะได้รับคำบอกเล่าจากสูติแพทย์ หรือกุมารแพทย์ตั้งแต่แรกเกิดแล้วว่า บุตรของตนเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ถ้าสังเกตจะพบว่าลักษณะของกลุ่มอาการดาวน์ โดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน คือ น้ำหนักแรกเกิดน้อย ความยาวของลำตัวจะสั้นกว่าปกติ เมื่ออายุมากขึ้นจึงมักเตี้ย ศีรษะเล็ก ท้ายทอยแบนราบ หน้าแบน ดั้งจมูกแบน ตาเฉียงขึ้น ขอบหนังตาบนยื่นมาจรดบริเวณหัวตา ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต ทำให้ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ คอสั้น ผิวหนังด้านหลังของคอค่อนข้างหนา สะดือจุ่น มีอาการท้องผูกได้บ่อย มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น นิ้วก้อยโค้งงอเนื่องจากกระดูกข้อกลางมีขนาดเล็ก (ในบางรายกระดูกชิ้นนี้อาจหายไปเลย ทำให้นิ้วก้อยมีเพียงข้อเดียวเท่านั้น) เส้นลายมือตัดขวาง ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง และมีร่องลึกจากช่องนี้พาดไปบนฝ่าเท้า กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย อุปนิสัยร่าเริงและเป็นมิตร

เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด มักพูดช้าและพูดไม่ชัด และมีการทำงานของกล้ามเนื้อในปากผิดปกติ เนื่องจากมีกล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม

อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง ในชายจะเป็นหมันเพราะผลิตสเปอร์มไม่ได้ และมักไม่มีกิจกรรมทางเพศ (มีรายงาน 1 รายที่สามารถมีบุตรได้) ส่วนในหญิงถึงแม้รอบเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ แต่ก็สามารถมีบุตรได้ และถ้าตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะมีบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์ได้ ร้อยละ 50

เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีภาวะเลือดข้นเมื่อแรกเกิดบ่อยกว่าทารกทั่วไป และมีภาวะตัวเหลืองเมื่อแรกเกิดนานกว่าเด็กปกติ พบผมร่วง ผิวหนังแห้ง และรูขุมขนอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กทั่วไป ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องพบในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ทุกราย และไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

เดิมกลุ่มอาการดาวน์มักมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางถึงรุนแรง แต่ถ้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกวิธี    ทำให้กลุ่มอาการดาวน์ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง

พัฒนาการด้านภาษาจะช้ามากกว่าระดับสติปัญญาที่ช้า ทักษะด้านสังคมจะพัฒนาได้ดีกว่า ทักษะการเรียนรู้โดยการมองจะดีกว่าทักษะการเรียนรู้โดยการฟัง

 

 

ความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วยในกลุ่มอาการดาวน์

1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและหลอดเลือดผิดปกติ พบประมาณร้อยละ 40-60

2. ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ โรคต่อมไทรอยด์พบประมาณร้อยละ 15 และมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานสูงถึง 1 : 250

3. ระบบทางเดินอาหาร  พบลำไส้อุดตันร้อยละ 5-12

4. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

- ข้อต่อสะโพกหลุดหรือเคลื่อน พบร้อยละ 6 มักพบช่วงอายุ 2 เดือน - 10 ปี

- ข้อต่อกระดูกคอชิ้นที่ 1 และ 2 เคลื่อน พบตั้งแต่ร้อยละ 10-30

5. ระบบโลหิต พบมะเร็งเม็ดโลหิตขาวร้อยละ 1-2 ซึ่งสูงกว่าประชากรทั่วไป 10-20 เท่า

6. ความผิดปกติทางตา พบได้ร้อยละ 60

- ต้อกระจก พบร้อยละ 3-15

- สายตาผิดปกติ พบร้อยละ 30-70 (โดยพบระดับรุนแรงร้อยละ 5)

- ท่อน้ำตาอุดตัน พบร้อยละ 20

- ตาเข พบร้อยละ 23-44

- ตาแกว่ง (nystagmus) พบร้อยละ 15

7. ความผิดปกติทางหูและภาษา

- การได้ยินผิดปกติ พบร้อยละ 75

- หูชั้นกลางอักเสบชนิด serous otitis media (SOM) พบร้อยละ 50-70

8. ระบบประสาท

- พบโรคลมชักร้อยละ 14

- ความผิดปกติทางจิต พบร้อยละ 22 ได้แก่ วิตกกังวล ซึมเศร้า การปรับตัวผิดปกติ พัฒนาการผิดปกติชนิด pervasive developmental disorder โรคจิตและ anorexia nervosa

- ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย ได้แก่ ไม่ร่วมมือ สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น ซน ไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าวและพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

- โรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) พบ ร้อยละ 20-30 พบหลังอายุ 40 ปี

- ชราก่อนวัยอันควร (premature aging) ได้แก่ สมองเสื่อมก่อนวัย เกิดต้อกระจกก่อนวัย และข้อเสื่อมก่อนวัย

9. พัฒนาการล่าช้าและบกพร่องทางสติปัญญา

10.ระบบปัสสาวะและสืบพันธุ์ ประมาณ 2 ใน 3 ของเพศหญิงจะเป็นหมัน และเพศชายทุกคนจะเป็นหมัน อาจพบอัณฑะไม่ลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ

11. ปัญหาทางผิวหนัง พบร้อยละ 10 ได้แก่ ผมบาง ผมร่วง ผิวแห้งขึ้นผื่นง่าย และผิวหนังเป็นรอยด่าง

12. การเจริญเติบโต มักเตี้ยและอ้วน ประมาณร้อยละ 30 จะเริ่มอ้วนในวัยเด็กตอนต้นเมื่ออายุ 3 ปีและในวัยรุ่นมากกว่าร้อยละ 50 ก็จะมีโรคอ้วนได้

13. ฟัน มักมีปัญหาฟันขึ้นช้า ในบางรายอาจมีปัญหาฟันสบผิดที่ เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์หรือกัดฟัน

14. ปัญหาการนอน ที่อาจพบได้บ่อยคือการนอนกรน การหยุดหายใจในระหว่างการนอนหลับ

15. ปัญหาโรคติดเชื้อ ได้แก่ หวัด ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบและปอดบวม

16. ภาวะภูมิคุ้มกันต่อร่างกายตนเอง ทำให้เกิดต่อมไทรอยด์อักเสบ ผมร่วง เบาหวาน เม็ดโลหิตแดงแตกชนิด Autoimmune hemolytic anemia และข้อเสื่อมรูมาตอยด์

 

 

แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

จุดมุ่งหมายของการดูแลกลุ่มอาการดาวน์ เพื่อรักษาตามอาการหรือแก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย  เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  การดูแลรักษาเน้นการดูแลแบบองค์รวม (holistic approach) โดยทีมสหวิชาชีพ

1. ด้านสุขภาพอนามัย

เนื่องจากอาจมีความผิดปกติหลายอย่างที่พบร่วมด้วยได้ในกลุ่มอาการดาวน์ รวมทั้งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อยกว่าเด็กทั่วไป จึงควรแนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้ค้นหาและให้การรักษาได้ทันที รวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ เช่น การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด

2. การส่งเสริมพัฒนาการ

เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม จึงควรแนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป

3. การดำรงชีวิตประจำวัน

เด็กกลุ่มอาการดาวน์ควรจะได้รับประสบการณ์ชีวิตเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป  จึงควรฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด  เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ รู้จักควบคุมตนเอง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆ ในสังคมได้

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่

- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด

- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)

- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Skills) การจดทะเบียนรับรองความพิการ

- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

 

 

คำแนะนำ   เมื่อพบว่าบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์

1 การยอมรับความจริงจากบิดามารดาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลานาน ทำให้เด็กเหล่านี้มักจะถูกทอดทิ้ง บิดามักจะเลิกกับมารดา หรือญาติทางฝ่ายบิดาอาจโทษมารดาว่าเป็นต้นเหตุของความผิดปกตินั้น ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วอาจเกิดจากความผิดปกติของฝ่ายบิดาเองก็ได้

2 เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป เช่น ชันคอก่อนแล้วจึงนั่ง คลาน ยืน เดิน เป็นต้น แต่มักมีความล่าช้าในพัฒนาการ ซึ่งสามารถช่วยเหลือได้โดยการส่งเสริมพัฒนาการ ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน สามารถไปเรียนร่วม และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

3 บิดามารดาจึงไม่ควรท้อแท้สิ้นหวัง ต้องเข้าใจว่าบุตรของตนมีความบกพร่อง ให้ความรักและความอบอุ่นบุตร มีกำลังใจช่วยเหลือบุตร ทำตามคำแนะนำที่ได้รับจากแพทย์ หรือบุคลากรวิชาชีพต่างๆ หมั่นฝึกฝนบุตรสม่ำเสมอ เพื่อให้บุตรของตนมีพัฒนาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะบิดามารดาเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับบุตรของตน อีกทั้งจะต้องรู้จักวางแผนแก้ปัญหาที่พบ ไม่คาดหวังในตัวบุตรสูงเกินไป

4 กลุ่มอาการดาวน์เพศหญิงควรได้รับการตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก รวมทั้งตรวจเต้านมด้วยปีละครั้ง

5 แนะนำการคุมกำเนิดและการทำหมัน โดยคำนึงถึงความยินยอมโดยส่งปรึกษาสูตินารีแพทย์ เพศหญิงที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์สามารถตั้งครรภ์ได้ และบุตรที่เกิดมีโอกาสที่จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ประมาณร้อยละ 50 ในเพศชายจะเป็นหมัน แต่บางครอบครัวก็ต้องการให้ทำหมันชาย

6 ควรมีการสอนเพศศึกษาในการศึกษาพิเศษด้วย

7 กลุ่มอาการดาวน์ที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางประเภท ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องความจำเป็นในการป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (infective endocarditis) ก่อนการทำฟัน

8 วัยผู้ใหญ่ควรตรวจโรคหัวใจ เนื่องจากในวัยผู้ใหญ่ร้อยละ 57 มีลิ้นหัวใจไมตรัลผิดปกติแบบ mitral valve prolapse และร้อยละ 11 มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (aortic regurgitation)

 

 

การส่งเสริมพัฒนาการ

การส่งเสริมพัฒนาการเป็นการจัดบริการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ปี ให้มีโอกาสพัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ สมวัยหรือสูงสุดตามศักยภาพ โดยจัดการเรียนการสอนตามวัย ฝึกทักษะด้านต่างๆ การช่วยเหลือตนเองและสังคม ตามความต้องการของบิดามารดา

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ

1. เพื่อให้เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้

2. ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิด แสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพได้

3. เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร

4. เพื่อให้บิดามารดามีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร

 

 

เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ

1. เป้าหมายทั่วไป เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้

2. เป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น และแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ

1. พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์และภาษาดีขึ้น

2. สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น

3. สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้

4. ลดปัญหาพฤติกรรม ลดผลของความพิการ

5. คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

 

 

สรุป

กลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดว่าเป็นสาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา มักมีพัฒนาการล่าช้า อาจมีความผิดปกติที่พบร่วมด้วย จุดมุ่งหมายของการดูแลกลุ่มอาการดาวน์ เพื่อรักษาหรือแก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย พัฒนาให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด

 

:    rajanukul

เราบำบัดโดยไม่ใช้ยา / เราใช้เทคนิคการสอนเฉพาะของสถาบัน / รับประกันผล

สถาบันพัฒนาสมอง - Develop Brain